1. ระบบนี้มีแรงดันสูง กว่าระบบ หม้อต้ม ?
ที่ จริงระบบนี้ยังคงอยู่ในมาตรฐานข้อบังคับเดียวกับใช้แก๊สติดรถยนต์ LPG คือ EC R67 01 โดยข้อบังคับนี้ ต้องทำงานภายใต้แรงดัน 27 bars สังเกตุที่มัลติวาวล์จะมี ตัวเลข 27 bars หมายความว่ากรณีที่แก๊สแรงดันเกิน ระบบจะทำการระบายแก๊สออก ระบบ LPi ต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับนี้เช่นกัน ไม่ว่า ถังแก๊ส หัวฉีด ท่อทางเดิน อุปกรณ์ในระบบ และ ถังแก๊สที่ใช้ก็เป็นถังแก๊สชนิดเดียวกัน การเติมแก๊สก็ปั๊มเดียวกัน จึงไม่มีความแตกต่าง แต่อย่างใด
แต่ในหลักการของ LPi คือ การรักษาแรงดันให้เสถียรโดยมีอุปกรณ์ปั๊มเชื้อเพลิง เป็นตัวทำงาน ทำการเพิ่มแรงดันที่มากกว่าในถัง 4 ถึง 5 bars เพื่อส่งไปยังหัวฉีด แรงดันปกติในถัง ที่เติมแก๊สเต็ม จะ ประมาณ 7-8 bars เมื่อปั๊มส่งแก๊สไปที่หัวฉีด จะมีแรงดันประมาณ 12-13 bars (มาตรฐานกำหนดไม่เกิน 27 bars)
โดยที่ท่อนำส่งแก๊ส และ ข้อต่อต่าง ๆ ของ LPi ที่ใช้ ทนแรงดันมากกว่า 65 bars
ในหลักการของระบบหม้อต้มหัวฉีด จะกลับกันคือ แก๊สที่อยู่ในถัง จะเดินทางมาที่ หม้อต้ม เพื่อเปลี่ยนสถานะ และ ลดแรงดัน จาก 7-8 bars เหลือ 1-3 bars
ระบบติดแก๊สรถยนต์โดยมาตรฐาน ยุโรป หรือ กรมการขนส่งประเทศไทยต้องอยู่ภายในแรงดัน 27 bars เท่านั้น และ ระบบ LPi ก็เช่นกัน
2. อุณหภูมิห้องเผาไหม้ระบบ LPi จะผกผัน หรือ สูงกว่า หรือ แก๊สที่ฉีดออกมามีความเย็น ทำให้ห้องเผาไหม้เกิดความเสียหายได้ ?
แก๊สเมื่ออยู่ในถังจะมีอุณหภูมิปกติ เทียบเท่าภายนอก (เมื่อสัมผัสถังแก๊ส จะไม่เย็น) แต่เมื่อเราทำการปล่อยแก๊ส หรือ ลดแรงดัน จะเกิด 2 สิ่งคือ การเปลี่ยนสถานะ จากของเหลวเป็นก๊าซ และ ความเย็น (ถ่ายเทความร้อน) ระบบ LPi เมื่อก๊าซถูกฉีดออกจากหัวฉีดเช่นเดียวกัน จะมีการเปลี่ยนสถานะ และ มีความเย็น แต่ เพียงชั่วเสี้ยววินาทีเท่านั้น จะนำไปจุดระเบิด จึงไม่ปรากฎว่าระบบ LPi ทำความเสียหายให้กับเครื่องยนต์ได้ เมื่อเครื่องได้รับการปรับจูน และ รับเชื้อเพลิงในจำนวนที่ถูกต้องจะทำงานปกติ แต่ความร้อนหรือการสึกหลอหรือจะเกิดผลกระทบมากเมื่อ เครื่องยนต์ได้รับเชื้อเพลิงไม่พอ (lean burn)
3. ระบบ LPi เป็นระบบใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จัก ?
จริง ๆ แล้วเมื่อสมัยก่อนจะใช้ LPG ในรถยนต์ เราต้องการใช้แก๊ส ในสภาวะของเหลว แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยก่อนไม่มีวิธีการควบคุมให้เสถียร ระบบหม้อต้มจึงเป็นวิธีดีที่สุด แต่ในปัจจุบัน มากกว่า 10 ปี เรามีบริษัท ผลิตคิดค้นระบบนี้ในเชิงพานิชได้ เช่น vialle prins Icom spa… ระบบนี้นิยมใช้ใน ยุโรปมากกว่า 10 ปี จึงไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่แต่อย่างใด เหตุผลที่ต้องทำการฉีดแก๊สในสถานะเหลวเพราะจะทำให้เครื่องยนต์ได้รับ ออกเทนของ LPG ที่มีอยู่ 105 ได้อย่างแท้จริง
4. อายุการใช้งานของปั๊มเชื้อเพลิง LPG สั้น และ แพง ?
ใน สมัยแรกมีการดัดแปลงป๊มดูดเชื้อเพลิงน้ำมันมาใช้แทน แต่ปัจจุบันทุกบริษัท ได้ออกแบบปั๊มสำหรับทนงานปั๊ม LPG โดยเฉพาะ อายุใช้งานจึงไม่มีปัญหาใด ๆ บริษัทฯ รับประกันการใช้งาน 2 ปี เต็มและกรณีซ่อมบำรุง สามารถเปลี่ยนเฉพาะตัวปั๊มได้ ไม่ต้องเปลี่ยนยกชุด ด้วยระบบ LPi ออกแบบมาเป็น maintenance free จึงไม่มีการซ่อมบำรุงใดๆ จนกว่าจะพบว่าอุปกรณ์หมดอายุใช้งาน
5. ค่าติดตั้ง LPi แพง ?
เทียบอุปกรณ์ต่อชิ้นงาน ระบบ LPi ใช้หัวฉีด Siemen deka II (continental) ผู้ผลิตหัวฉีดป้อนโรงงานประกอบรถยนต์ทั่วโลก ได้ออกแบบ deka II มาสำหรับงาน LPi โดยเฉพาะ จึงมั่นใจว่าได้ใช้หัวฉีดที่ดีสุด เมื่อเปรียบเทียบกับระบบหม้อต้มที่ใช้ solenoid ดัดแปลง ไม่ใช่หัวฉีดแท้
ท่อนำแก๊ส ทนแรงดัน มากกว่า 65 bars. สูงกว่ามาตรฐาน และทนแรงดันสูงสุดกว่าทุกชุดติดตั้งแก๊สในตลาด
ข้อต่อต่างๆ ไม่ใช้เข็มขัดรัดท่อ โดยรัดแน่น ขันไขขวง หุ้มท่อสวยงามภายนอก แต่ใน ระบบ LPi ใช้ข้อต่อระบบเดียวกับโรงงานประกอบรถยนต์ จึงมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยได้มากกว่า ด้วยเหตุผลเหล่านี้ต้นทุนจึงสูงกว่าระบบหม้อต้ม หัวฉีด ควรมองว่าระบบ LPi เป็น maintenance free ไม่มีการเปลี่ยนไส้กรอง หรือ เปลี่ยนหม้อต้ม ทุก1 หรือ 2 ปี รวมระยะยาวแล้วจ่ายแพงกว่า ระบบ LPi ที่จ่ายแพงกว่าครั้งแรกเท่านั้น
6. ระบบ LPi เติมก๊าชได้น้อย และต้องมีก๊าซเหลือเพื่อหล่อเลี้ยงปั๊มกันไหม้ หรือ ปั๊มเชื้อเพลิงที่ติดตั้งอยู่ในถังอาจทำให้เกิดระเบิดได้ ?
ภายใต้ความควมคุมมาตรฐาน ถังจะต้องรับการเติมเพียง 80 เปอร์เซนต์ของปริมาตร เช่นเดียวกัน ระบบ LPi มีมัลติวาวล์ ที่ต้องทำงานภายใต้ข้อบังคับนี้เช่นกัน ถังและแก๊สที่เติมก็เหมือนกันกับระบบหม้อต้มหัวฉีด จึงไม่มีสิ่งใดแตกต่างในการเติมแก๊ส
หลักการของปั๊ม LPG จะถูกควบคุมโดย ECU เมื่อพบว่าแรงดันที่ดูดเชื้อเพลิงตกมากกว่าค่าที่ตั้งไว้ ปั๊มจะหยุดทำงาน อาจหมายถึง ระดับแก๊สได้ลดต่ำลง ปั๊มมีปัญหาสร้างแรงดันไม่ได้ แต่ไม่ใช่ว่าต้องมีแก๊สหล่อเลี้ยงปั๊มในจำนวนมาก
ระบบ LPi มีสิ่งประดิษฐ์ ที่เรียกว่า buffer jet หลักการทำงานคือ มี Buffer ขังน้ำแก๊สไว้จำนวนหนึ่งเสมอ และ ระดับใน buffer นี้จะมาจาก หัว Jet ด้านพื้นล่างพ่น ผลัก น้ำแก๊สที่อยู่ภายนอก buffer ให้เข้าไปอยู่ด้านใน โดยเข้าไปในตำแหน่งด้านล่างพื้น buffer ที่มีวาวล์กันไหลกลับ ซึ่งหลักการนี้จึงทำให้น้ำแก๊สที่อยู่ใน buffer มีระดับสูงกว่าภายนอก ปั๊มจะดูดเชื้อเพลิงไปใช้จนเกือบถึงพื้นล่าง จึงไม่จำเป็นต้องเหลือปริมาณแก๊สเพื่อหล่อเลี้ยงปั๊ม
ปั๊ม LPG หรือ ปั๊มเกือบทุกชนิด จะเสียหายถ้าทำงานโดยไม่มีเชื้อเพลิง ( run dry) แต่ด้วยระบบถูกคุมด้วย ECU ตัวปั๊มจะถูกตัดการทำงานเมื่อไม่มีเชื้อเพลิงพอเพียงจึงไม่มีโอกาสนี้ขึ้น
สำหรับเรื่องการเกิดระเบิดในถัง จากการที่ต้องมีปั๊มดูดเชื้อเพลิง LPG ในถัง เช่นเดียวกับระบบน้ำมัน ซึ่งไม่มีความเป็นไปได้เลย ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เดียวกันที่ว่า ภายในถังที่บรรจุน้ำมัน หรือ ก๊าซ ไม่มี ออกซิเจน จึงไม่ครบองค์ประกอบ
7. ระบบ LPi กินเชื้อเพลิงมากกว่า ระบบหม้อต้มหัวฉีด ?
ด้วยการฉีดแบบ สถานะเหลว จึงมีความหนาแน่นมากกว่า ด้วยระบบวนกลับเชื้อเพลิงส่วนเกิน กลับถัง จึงไม่มีเรื่องเชื้อเพลิงไม่พอเพียง (เช่นเดียวกับระบบน้ำมันที่ต้องออกแบบให้เชื้อเพลิงมากกว่าความต้องการไว้ ก่อน ส่วนเกินจะไหลกลับถัง) เมื่อเทียบกับระบบหม้อต้ม หัวฉีดซึ่งมีทางเดินเชื้อเพลิงเข้าทางเดียว ขณะที่ต้องการกำลังอัดสูงจึงพบว่าหม้อต้มสร้างอัตราการจ่ายเชื้อเพลิงไม่พอ จึง เร่งไม่ออก รอรอบ เพราะหม้อต้มต้องการเวลาในการสร้างเพิ่มอัตราการไหลจ่ายแก๊สอย่างกระทันหัน
ระบบ LPi จุดระเบิดสมบูรณ์กว่า จากการได้รับสมรรถนะที่เหนือกว่าจากออกเทน 105 ที่ระบบหม้อต้มหัวฉีดทำไม่ได้ เครื่องยนต์ทำงานดีขึ้น เหยียบคันเร่งน้อยลง ได้ความเร็วเท่ากัน ระบบ LPi จึงไม่ได้มีอัตราบริโภคเชื้อเพลิงมากกว่า ระบบหม้อต้มหัวฉีด
8.ปั๊มเชื้อเพลิง LPi มีเสียงดัง ?
สำหรับถังแก๊สที่ติดตั้งใต้ท้องรถ พบว่าจะได้ยินเสียงการทำงานของปั๊ม แต่สำหรับถังที่ติดตั้งภายในรถ ด้วยการวางแผ่นเก็บเสียง จึงทำให้ไม่ได้ยินเสียงปั๊ม ปัจจุบันปั๊มได้พัฒนาให้มีเสียงเงียบกว่าเดิมมาก เสียงที่ได้ยินเทียบเท่ากับการทำงานของปั๊มน้ำมันเท่านั้น
9. ระบบ LPi จดทะเบียนขนส่งไม่ได้ ?
ตามกฎหมาย กรมขนส่งทางบก ระบบแก๊สติดรถยนต์ทุกชนิด ต้องได้รับมาตรฐาน ECR67 01 หรือ มาตรฐานอุตสาหกรรม ทุกชิ้น อย่างใด อย่างหนึ่ง ระบบ LPi จากผู้ผลิต เนเธอร์แลนด์ก็เช่นกัน อยู่ภายใต้ และ มาตรฐานนี้เช่นกัน ส่วน ถังแก๊สที่ใช้ก็ได้มาตรฐาน อุตสาหกรรมในประเทศไทย จึงเข้าข้อบังคับทุกประการของกรมการขนส่ง ไม่มีสาเหตุที่จดทะเบียนไม่ได้